ฟอสซิลหอยแอมโมไนต์ (Ammonite fossil) "หินแห่งความเชื่อ"

Last updated: 8 ส.ค. 2566  |  366 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฟอสซิลหอยแอมโมไนต์ (Ammonite fossil) "หินแห่งความเชื่อ"

ฟอสซิลหอยแอมโมไนต์ (Ammonite) เป็นฟอสซิลของสัตว์ประเภทนอติลอยด์ชนิดหนึ่ง มนุษย์ในอดีตพบฟอสซิลชนิดนี้มานานแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร มนุษย์ในยุคนั้นคิดว่าเป็นซากของงู ที่ตายและขดตัวเป็นวงกลม แอมโมไนต์พบได้หลายที่บนโลกใบนี้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย แอมโมไนต์มีหลากหลายชนิด และพบได้ทั่วไปในทะเลดึกดำบรรพ์ สัตว์ในกลุ่มนี้ได้สูญพันธุ์ไปพร้อมกับไดโนเสาร์ เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส แอมโมไนต์ได้วิวัฒนาการไปเป็น ปลาหมึก หอย และ หอยงวงช้าง


แอมโมไนต์ เกิดจากการแทรกและรวมตัวของซากแอมโมไนท์ กับหินอะราโกไนต์(Aragonites) นอกจากนี้อาจมีซิลิกา, แคลไซต์, ไพไรต์และแร่ชนิดอื่นๆ รวมอยู่ด้วยขึ้นอยู่กับสภาวะการเกิดและคุณสมบัติของแหล่งที่เกิด


คำว่า "แอมโมไนต์" มาจากคำว่า อัมโมน ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าของอียิปต์ซึ่งมีเขาที่ม้วนขดเหมือนกับแกะ เดิมที่นั้นเป็นเทพเจ้าของชาวลิบโบน(ชนเผ่าโบราณในประเทศเอธิโอเปีย) แต่ภายหลังได้รับการสักการะทั้งในอียิปต์และบางส่วนของกรีก


สำหรับท่านที่ชอบสะสมฟอสซิล จะเห็นว่าลักษณะของฟอสซิลของสัตว์ชนิดนี้ เมื่อนำมาขัดเงาจะเห็นลวดลายที่สวยงาม ตามลักษณะดังนี้ คือ


1. แบบขัดเงาเป็นเหลือบสีรุ้ง หรือบางทีเรียกกันว่า Ammolite หรือ Rainbow Ammonite
2. แบบลายไบเฟิร์นหรือที่มักเรียกกันว่า Jade Ammonite หรือแบบสีหยก
3. แบบผ่าครึ่งโชว์ให้เห็นโครงสร้างข้างใน ที่มักจะมีแร่ฝังอยู่ มักเรียกกันว่า Split Ammonite
4. แบบเปลือกลายมุก หรือที่มักเรียกกันว่าแบบ Opalescent Ammonite


กล่าวกันว่าจักรแบบดั้งเดิมในกีฬาโอลิมปิกของชาวกรีกโบราณนั้นทำมาจากซากฟอสซิลแอมโมไนต์ ในประเทศอินเดีย ฟอสซิลหอยแอมโมไนต์เป็นสัญลักษณ์ของพระวิษณุ และใช้ในพิธีต่างๆ ฟอสซิลส่วนใหญ่นั้นได้มาจากประเทศเนปาล โดยเก็บมาจากบริเวณก้นของแม่น้ำกันดากิ(Gandaki) โดยฟอสซิลเหล่านี้เรียกว่า "Shaligram Shila"

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของธรรมชาติในยุคแรกๆ เปรียบเทียบรูปลักษณ์ของแอมโมไนท์ ที่มีลักษณะม้วนคล้ายกับงู ทำให้ยุคนั้นมีการเรียกแอมโมไนต์อย่างกว้างขวางว่า หินรูปงู (Snakestones) เพื่อที่จะขยายความว่า แอมโมไนท์เป็นงูที่กลายเป็นหิน นักสะสมฟอสซิลและพ่อค้าซากดึกดำบรรพ์ จึงแกะสลักรูปงูไว้หัวของก้นหอย ร่องรอยของข้อมูลดังกล่าว ปรากฎเป็นหลักฐานบนรูปสัญลักษณ์ของเมืองวีสบี้(Whitby) ในประเทศอังกฤษ ที่มีรูปก้นหอยแอมโมไนท์ขดและมีหัวเป็นงู ทั้งหมด 3 ชุด

แอมโมไนต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ดูดซับพลังงานจากโลกที่มีพลังในการบำบัดมาก รูปร่างเกลียวเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าแอมโมไนต์ได้ดูดซึมพลังงานจากโลกมาตลอดช่วงเวลา ทำให้สามารถช่วยกระตุ้นพลังภายใน (พลัง "ชิ"(Chi)) การเก็บแอมโมไนต์ไว้ในบ้านเพื่อดึงดูดความเจริญรุ่งเรือง สุขภาพและความสำเร็จ ความสมบูรณ์ ภูมิปัญญา และความรู้เป็นลักษณะสามประการที่ดีที่สุดที่เกี่ยวข้องกับแอมโมไนท์ หินชนิดนี้มักใช้โดยนักอัญมณีบำบัด และซินแสฮวงจุ้ยเพื่อนำมากระตุ้นความสามารถในตัวเอง

พลังของหินแอมโมไนต์จะช่วยให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์ และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งวิวัฒนาการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับการที่แอมโมไนต์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวิวัฒนาการได้ นอกจากนี้แอมโมไนต์ยังถูกใช้เป็นเครื่องรางเพื่อกันงู รักษาอาการศีรษะล้านและมีบุตรยากด้วย ทั้งยังเชื่อกันว่าแอมโมไนต์ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิต และอาการผิดปกติจากการเสื่อม เช่น การเสื่อมในหูและปอดอีกด้วย

คุณสมบัติทางกายภาพของแอมโมไนต์



เอาละครับ หวังว่าสาระน่ารู้ที่พี่พรายนำมาฝากในวันนี้จะถูกใจบรรดา Pearl Lovers ทั้งหลายของ PAKASIA นะครับ ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์ ช่วยกด Like กด Share ให้พี่พรายด้วยนะครับ ถ้าท่านมีข้อสงสัยประการใดสอบถามพี่พรายเข้ามาได้นะครับ ตามช่องทางดังนี้ครับ

Line id : @mookdee
Tel :  075-810-028
IG: pakasia_pearls
facebook: Pakasiaa Prime
www.pakasiapearl.com


ที่มา:
1. http://oknation.nationtv.tv/blog/FossilCollector/2013/03/28/entry-1

2. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C

3. https://www.healingcrystals.com/Ammonite_Articles_3725.html

4. http://www.bgs.ac.uk/discoveringGeology/time/Fossilfocus/ammonite.html

5. https://meanings.crystalsandjewelry.com/ammolite/

6. https://www.healingwithcrystals.net.au/ammoniteammolite.html

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้